วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Harddisk



ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (ศัพท์บัญญัติ) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด(motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟชแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของบริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง
- ขนาดความหนาขนาดความหนา 3.5 นิ้ว = 4 นิ้ว×1 นิ้ว×5.75 นิ้ว (101.6 มิลลิเมตร×25.4 มิลลิเมตร×146 มิลลิเมตร) = 376.77344cm³เป็นฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ desktop pc หรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ server ความเร็วในการหมุนจาน 10,000 7,200 5,400 RPM ตามลำดับ โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 80 GB ถึง 1 TB
- ขนาดความหนา 2.5 = 2.75 นิ้ว× 0.374–0.59 นิ้ว×3.945 นิ้ว (69.85 มิลลิเมตร×9.5–15 มิลลิเมตร×100 มิลลิเมตร) = 66.3575cm³-104.775cm³นิ้วเป็นฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา notebook , Laptop ,UMPC,Netbook, อุปกรณ์มัลติมีเดียพกพา ความเร็วในการหมุนจาน 5,400 RPM โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 60 GB ถึง 320 GB
การเก็บข้อมูล ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น
การคำนวณความจุของฮาร์ดดิสก์ตัวอย่างที่ 1ถ้าฮาร์ดดิสก์มี 4 แพล็ตเตอร์ (แต่ละแพล็ตเตอร์บันทึกได้ 2 ด้าน) มี 1,024 ไซลินเดอร์ (หรือแทร็ก) และมี 63 เซกเตอร์ต่อแทร็ก (แต่ละเซกเตอร์มีขนาด 1,024 ไบต์) จะคำนวณความจุของฮาร์ดดิสก์ดังนี้จำนวนเซกเตอร์ต่อพื้นผิว = 1,024 แทร็ก x 63 เซกเตอร์ต่อแทร็ก = 64,512 ไบต์จำนวนเซกเตอร์ทั้งหมด = 64,152 เซกเตอร์ต่อพื้นผิว x 8 พื้นผิว = 516,096 เซกเตอร์ความจุฮาร์ดดิสก์ (ไบต์) = 516,096 เซกเตอร์ x 1,024 ไบต์ต่อเซกเตอร์ = 528,482,304 ไบต์ความจุฮาร์ดดิสก์ (MB) = 528,482,304 / 1,048,576 = 504 เมกะไบต์ตัวอย่างที่ 2ความจุของฮาร์ดดิสก์สามารถคำนวณได้ โดยดูจากจำนวนแพลตเตอร์ จำนวน Track ซึ่งโดยปกติจะใช้จำนวน Cylinder แทนฮาร์ดดิสก์โดยปกติจะแบ่งให้ Cylinder ซึ่งมี 17 Sector แต่ละ Sector มีขนาด 512 byte ถ้ามี 2 แพลตเตอร์ ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้ 2 ด้าน แต่ละด้านแบ่งเป็น 305 cylinder ดังนั้นความจุฮาร์ดดิสก์ = จำนวน Cylinder x จำนวน Sector x จำนวนด้าน x จำนวน byte ใน 1 sector= 305 cylinder x 17 sector x 4 side x 512 byte= 10,370 k= 10 M

Mainboard







1.ทิศเหนือของMainBoardนั้นเรียกว่า North Bridgeทิศใต้ของMainBoardนั้นเรียกว่า South Bridgeวิธีการสังเกตุว่าส่วนใดเป็นNorth หรือ South Bridgeนั้นสังเกตุได้จาก...North Bridgeคือเป็นชิปเซตที่มีความสำคัญมากที่สุด มีหน้าที่ควบ คุมการ รับ / ส่งข้อมูลของซีพียูและแรม ตลอดจนสล็อต AGP ที่ใช้แสดงผลรุ่นใหม่ ที่ทำงานด้วยความเร็วสูงปกติชิปเซตชนิดนี้ถูกปิดด้วยแผงระบายความร้อน หรือบางตัวมีการ์ดแสดงผลอยู่ข้างในทำให้ต้องติดตั้งพัดลมเพิ่มเติมอีก ชิปเซตนี้ต้องระบายความร้อน เนื่องจาก อุปกรณ์นี้ทำงานด้วยความเร็วสูงทำให้เกิดความร้อนขณะทำงาน

สังเกตุชื่อของSocketว่าลงท้ายด้วย X จะเป็นNorth Bridge Chipset


สังเกตุชื่อของSocketว่าลงท้ายด้วย B จะเป็นSouth Bridge Chipset


2.South Bridgeคือ ชิปที่มีขนาดเล็กมากกว่า North Bridge ทำหน้าที่ควบคุมสล็อตของการ์ดอื่น ๆ ควบคุมดิสก์ไดร์ต่าง ๆรวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคีร์บอร์ด ,เมาส์ ,หรือพอต ต่าง ๆ ที่อยู่หลังเครื่อง

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

องค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม




องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นปูชนียสถานอันสำคัญของประเทศไทย อยู่ภายในวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ใหญ่ รูประฆังคว่ำ ปากผายมหึมา โครงสร้างเป็นไม้ซุง รัดด้วยโซ่เส้นมหึมาก่ออิฐ ถือปูน ประดับด้วยกระเบื้องปูทับ ประกอบด้วยวิหาร 4 ทิศ กำแพงแก้ว 2 ชั้น เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า เป็นที่เคารพสักการะบูชาของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ทางวัดกำหนดให้มีงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึง วันแรม 5 ค่ำ เดือน 12 รวม 9 วัน 9 คืน เป็น ประจำทุกปี

ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์

พระปฐมเจดีย์ หรือเดิมเรียกว่า พระธมเจดีย์ มีฐานะเป็นมหาธาตุหลวง ของแผ่นดินสุวรรณภูมิ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า พระธมเจดีย์องค์นี้ อาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้น เมื่อคราวที่พระสมณทูต ในพระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิ ก็เป็นได้ เพราะพระเจดีย์เดิม มีลักษณะทรงโอคว่ำ หรือทรงมะนาวผ่าซีก แบบเดียวกับพระสถูปสาญจี แต่ปรากฏว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ ซึ่งพระองค์ฯ ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ ซึ่งตรงกับความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม) ของ พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ อันได้กล่าวไว้ว่า พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ท่านทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับเมืองราด เมื่อคราวที่ท่านเสด็จกลับจากศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลังกา ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชทานนามใหม่ว่า พระปฐมเจดีย์ ด้วยทรงเชื่อ ว่านี่คือเจดีย์แห่งแรกของสุวรรณภูมิ นั่นเอง
ในเรื่องนี้
นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดีบางท่าน ได้ระบุว่า พระปฐมเจดีย์ไม่ได้เป็นเจดีย์ที่เก่าที่สุดของสุวรรณภูมิ แต่เป็น พระมหาธาตุหลวง ในยุคทวารวดี มากกว่า เนื่องด้วยเหตุผลประกอบหลายประการ โดยเฉพาะ การค้นพบเจดีย์ ที่มีอายุเก่าแก่กว่าพระธมเจดีย์ และหลักฐานลายลักษณ์อักษร ที่ระบุว่า " พระเจดีย์องค์นี้ เดิม ขอมเรียก พระธม " ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชาวขอมจริงๆ หรือชาวลวรัฐ ซึ่งสมัยนั้นเราก็เรียกว่าขอม เช่น ขอมสบาดโขลญลำพง คำว่า ธม สำหรับชาวขอมนั้น แปลว่า ใหญ่ ตรงกับคำเมืองว่า หลวง ซึ่งเราก็เรียกพระนครธม ว่า พระนครหลวง ด้วยเหตุผลเดียวกัน
นอกจากนี้
พระบรมราชสรีรางคาร รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บรรจุที่ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และฐานพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร ตามที่มีพระบรมราชโองการสั่งไว้ในพระราชพินัยกรรม ต่อมา ในพุทธศักราช 2529 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระอังคารของ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 ไปบรรจุไว้เคียงข้างพระบรมราชสรีรางคารรัชกาลที่ 6 ที่ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

10 วิธีเรียนเก่ง

1.มีโต๊ะและเก้าอี้สำหรับนั่งเรียนหนังสือที่บ้าน จำไว้ว่าสิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยให้เรามีสมาธิในการเรียน
2.ตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจนว่าจะอ่านแต่ละวิชา หรือทำการบ้านมากน้อยแค่ไหนและลงมือทำอย่างเต็มที่จนเสร็จ
3.บางวิชาที่ยากๆให้รวมกลุ่มกับเพื่อนๆ ช่วยกันติว ช่วยกันเรียน ผลัดกันค้นคว้า ตั้งคำถาม จะช่วยให้เก่งกันยกกลุ่ม
4.มีเวลาอ่านหนังสือทบทวนบทเรียนทุกๆวัน วันละนิดวันละหน่อย ฝึกจนเป็นนิสัย อย่าตั้งใจเรียนหนังสือเป็นพักๆ
5.ฝึกทักษะการเรียนอยู่เสมอๆ เช่น ฝึกอ่านให้เร็วขึ้น จดบันทึกเป็นระบบ จัดระเบียบความคิด และ สรุปเนื้อหาจะช่วยในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
6.นั่งใกล้ครูมากที่สุด จะได้ไม่มีอะไรมาดึง ความสนใจในการเรียนของเรา
7.ทำการบ้านหรือรายงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จทันเวลา ข้อนี้สำคัญมาก เพราะถ้าทำเสร็จเร็วเท่าไร จะมีเวลาอ่านหนังสือมากขึ้น
8.จัดลำดับความสำคัญของวิชาที่ต้องทำ เช่น วิชาไหนด่วนที่สุด หรือหัวข้อไหนไม่เข่าใจ ต้องเรียงลำดับไว้ และ ทำ ตามให้ได้
9.ทำความเข้าใจว่าครูผู้สอนแต่ละวิชามีการให้คะแนนอย่างไร คะแนนเก็บเท่าไร คะแนนสอบเท่าไร วางแผนทำคะแนนให้ดีในแต่ละส่วน
10.สำคัญที่สุดในการเรียน ก็คือมุ่งมั่นตั้งใจเรียนไม่มีใครช่วยเราได้ ถ้าตัวเราเองไม่อยากเรียนเก่ง เพราะฉะนั้นจำไว้ว่า Work Smart , Not Hard